วันจันทร์, พฤษภาคม 26, 2551

"โกะ" คืออะไร ?

"โกะ" คืออะไร ?

ตอบง่าย ๆ ..."โกะ" คือ หมากกระดานชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากจีนครับ ...ภาษาไทยเรียกโกะว่า "หมากล้อม" ภาษาจีนเรียกโกะว่า "เหวยฉี" ส่วนคำว่า "โกะ" เป็นภาษาญี่ปุ่น ที่นิยมเรียกตามภาษาญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่โกะรุ่งเรืองที่สุด ...ปัจจุบัน ประเทศที่มีผู้คนเล่นโกะกันมากที่สุดได้แก่ ประเทศเกาหลี , ญี่ปุ่น , จีน , ไต้หวัน รวมทั้ง สิงคโปร์กำลัง สนับสนุนอย่างมาก ให้ประชาชนเล่นโกะ

หมากล้อม หรือโกะ เป็นกีฬาที่มีกฎกติกาเพียงเล็กน้อย กติกาข้อหลักสำคัญที่สุดคือ "วางหมากให้ล้อมพื้นที่ว่างให้ได้มากกว่าคู่ต่อสู้" การเล่นนั้นพลิกแพลงได้มากมายมหาศาล ...หมากรุกนั้น ยังมีคนสามารถสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ชนะนักหมากรุกแชมป์โลกได้ แต่แม้ว่า จะมีผู้พยายามสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์โกะ ให้มีฝีมือเก่งที่สุดเพียงไร ก็ทำได้เพียงแค่เทียบเท่าระดับฝีมือล่าง ๆ เท่านั้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์โกะที่เก่งที่สุดในโลกในปัจจุบัน เทียบได้กับฝีมือระดับ 5 คิวเท่านั้น ซึ่งเป็นระดับฝีมือค่อนข้างต่ำ โกะมีระดับฝีมือคิว (ระดับฝึกหัด), ระดับดั้ง (ระดับอาจารย์) และระดับดั้งโปร (มืออาชีพ)
ผมมั่นใจว่า เมื่อคุณเล่นโกะเป็น คุณจะรู้ว่าทำไมคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถมีฝีมือเทียบกับนักเล่นโกะระดับสูงได้


--------------------------------------------------------------------------------

มารู้จักโกะกันเถอะ

ย่อและเรียบเรียง จากบทความ "มารู้จักโกะกันเถอะ" ของคุณสุรพล อินทรเทศ (อ.ขวด)
หมากล้อม หรือ โกะ นั้นเดิม ถือกำเนิดขึ้น ในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3000-4000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึง ความเก่าแก่ และลึกซึ้ง ของอารยธรรมจีน ...ในภาษาจีน เรียกโกะว่า "เหวยฉี" (Wei Qi)

เหวยฉี เป็นที่นิยมเล่นกัน ในหมู่ ปัญญาชนชั้นสูง และขุนนาง ผู้บริหารประะเทศ ในสมัยนั้น ...เหวยฉี หรือหมากล้อม เป็นหมากกระดาน ประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีน ยังมีเค้าว่า รับมาจากอินเดีย และเพิ่งจะแพร่หลาย ในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น

ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ญี่ปุ่น และเกาหลี ...ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียก เหวยฉี หรือหมากล้อม

...โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น ...สมัย โชกุน โตกุกาว่า ได้สนับสนุน ให้ ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบ ด้วยกำลัง เป็นการรบด้วยปัญญา และ ยังสนับสนุน ให้โกะแพร่หลาย มากยิ่งขึ้นอีก ...โชกุนโตกุกาว่า ได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือก ผู้เป็นยอดฝีมือโกะ ของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงนินโบ , อิโนอูเอะ , ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทน มาประลองฝีมือ เพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" ...จากการส่งเสริมโกะ ของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือ นักเล่นโกะของญี่ปุ่น ก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิด ของโกะ รวมทั้ง ประเทศเกาหลี ไปไกลแล้ว

ปัจจุบัน ทั่วโลก เล่นโกะ กันอย่างแพร่หลาย โกะ เรียกเป็นสากลว่า "Go" ...ปัจจุบัน โกะ แพร่หลาย ในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย และ อเมริกาเหนือ ทุกประเทศ อเมริกาใต้ , ยุโรป , เอเชีย เกือบ ทุกประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย ในทวีปแอฟริกา แพร่หลายใน ประเทศ แอฟริกาใต้

ใน พ.ศ.2522 ได้เกิด "สมาพันธ ์หมากล้อม นานาชาติ" (International Go Federation) ขึ้น มีประเทศ สมาชิก เริ่มแรก 15 ประเทศ ปี 2535 เพิ่มเป็น 50 ประเทศ ประเทศไทย ได้เข้าเป็น สมาชิก เมื่อ พ.ศ.2526 ...ประชากร ที่เล่นโกะ ในจีน ประมาณว่ามี 10 ล้านคน , ญี่ปุ่น มี 10 ล้านคน , เกาหลี มี 10 ล้านคน (เกาหลี มีประชากร ทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากร ที่เล่นโกะ มีถึง เกือบ 1 ใน 4 ของประชากร ประเทศ) , ในไต้หวัน มี 1 ล้านคน , สหรัฐอเมริกา มี 1 ล้านคน ...โกะ ในด้านการศึกษา มหาวิทยาลัย Princeton ใน สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษา ปรัชญา ตะวันออก จากโกะ และ มหาวิทยาลัย Rochester , MIT , YALE , Kellox ก็บรรจุวิชาโกะ ในหลักสูตร MBA และในสิงคโปร์ ก็มีวิชาโกะ ในหลักสูตร ชั้นมัธยมด้วย
สุรพล อินทรเทศ (อ.ขวด)

--------------------------------------------------------------------------------

"โกะ" ศาสตร์และศิลป์ อันล้ำค่าแห่งตะวันออก
"โกะ" เป็นหมากกระดานที่แตกต่างกับหมากรุกอย่างสิ้นเชิง ...หมากรุกนั้นชนะได้ด้วยการกินหมากของคู่ต่อสู้ เป็นการชนะโดยทำลายคู่ต่อสู้...แต่โกะชนะด้วยการ สร้างดินแดนให้มากกว่าคู่ต่อสู้ ซึ่งเป็น การทำให้ตนเองแข็งแรง โดยบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...ซึ่งการเล่นโกะ ผู้เล่นที่จะเล่นโกะเก่งได้นั้น จะต้องมีทั้งความคิดการไกล มีเหตุมีผล และเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีศิลปะ ...นี่คือเหตุที่ชาวตะวันตก มักเล่นโกะสู้ชาวเอเชีย (ตะวันออก) ไม่ได้ ซึ่งทั้งนี้ อาจเกิดจากวัฒนธรรมทางความคิดที่ต่างกัน การเล่นโกะนั้น ผู้เล่นต้องมีทั้งเหตุผล และการจินตนาการ พร้อมสร้างสรรค์หมากของตนออกมา
โกะจึงเป็นทั้งศาสตร์วิชาชั้นสูงที่ลึกซึ้ง และเป็นทั้งศิลปะที่สวยงาม ที่ออกมาจากความคิด จินตนาการของผู้เล่น

...คนจีนกล่าวว่า "การเล่นโกะ คือ การสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้ภาษา" ...การเล่นโกะให้เป็นนั้น อาจใช้เวลาศึกษากติกาต่าง ๆ เพียง 15 นาทีเท่านั้น แต่การจะเล่นโกะให้เก่งได้นั้น อาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิตเลยทีเดียว ...ที่ผมกล่าว ไม่ได้หมายความว่าโกะนั้นเล่นยาก แต่ผมบอกว่าโกะนั้นมีความลึกซึ้ง ที่คนที่เล่นเท่านั้นที่จะรู้ ผมจึงอยากชักชวนและสนับสนุนให้คนไทยหันมาเล่นโกะกันมาก ๆ

--------------------------------------------------------------------------------

ไอสไตน์ กล่าวว่า "โกะมีความเรียบง่ายที่สุด แต่กลับซับซ้อนที่สุด"

--------------------------------------------------------------------------------

ไม่ใช่เพียงการสู้รบ
ตามที่ผมได้กล่าวไปแล้ว ...โกะ เหมือนสงครามที่จะต้องวางแผน เพื่อสร้างให้ตนเองแข็งแกร่ง ไม่ใช่เพียงทำลายคู่ต่อสู้เท่านั้น ...กระดานโกะมีขนาด 19x19 เส้น ซึ่งใหญ่กว่ากระดานหมากรุกถึง 5 เท่าครึ่ง คือการทำสงครามที่มีการสู้รบอยู่หลายสนามรบ การเล่นโกะจึงต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าของทรัพยากรที่มี ทรัพยากรที่เสียไป สิ่งที่จะได้มา แล้วบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่า ...การชนะในสนามรบเดียวนั้น ไม่อาจทำให้ชนะทั้งสงครามได้ มีสุภาษิตโกะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น "จงอย่าชนะสนามรบ แต่แพ้สงคราม" , "จงเล่นโกะทั้งกระดาน" , "เสียสละส่วนน้อยเพื่อก้าวไป

ไม่มีความคิดเห็น: